-
Notifications
You must be signed in to change notification settings - Fork 6
/
Copy path02-getting-started.md.erb
360 lines (264 loc) · 23.8 KB
/
02-getting-started.md.erb
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
244
245
246
247
248
249
250
251
252
253
254
255
256
257
258
259
260
261
262
263
264
265
266
267
268
269
270
271
272
273
274
275
276
277
278
279
280
281
282
283
284
285
286
287
288
289
290
291
292
293
294
295
296
297
298
299
300
301
302
303
304
305
306
307
308
309
310
311
312
313
314
315
316
317
318
319
320
321
322
323
324
325
326
327
328
329
330
331
332
333
334
335
336
337
338
339
340
341
342
343
344
345
346
347
348
349
350
351
352
353
354
355
356
357
358
359
360
---
title: เริ่มต้นกับ Meteor
slug: getting-started
date: 0002/01/01
number: 2
contents: ติดตั้ง Meteor|รู้จักกับแพ็คเกจ Meteor แบบต่างๆ|จัดโครงสร้างโฟลเดอร์ให้แอพ Meteor ของคุณ.
paragraphs: 49
---
Meteor จะทำให้คุณประทับใจตั้งแต่แรกพบ ขั้นตอนการติดตั้งทำได้ง่ายๆ เพียงไม่เกินห้านาที คุณก็พร้อมใช้งานได้แล้ว
ถ้าคุณใช้ Mac หรือ Linux คุณสามารถติดตั้ง Meteor โดยเปิดโปรแกรมเทอร์มินัล และป้อนคำสั่งนี้
~~~bash
curl https://install.meteor.com | sh
~~~
แต่ถ้าคุณใช้ Windows ให้คุณทำตาม [คำแนะนำการติดตั้ง](https://www.meteor.com/install) จากเว็บไซต์ Meteor ได้เลย
เมื่อทำเสร็จแล้ว คุณก็จะได้โปรแกรม `meteor` ที่พร้อมใช้งานบนเครื่องของคุณ
<% note do %>
### ใช้ Meteor โดยไม่ต้องติดตั้ง
ถ้าหากคุณไม่สามารถติดตั้ง (หรือไม่ต้องการติดตั้ง) Meteor ลงบนเครื่อง คุณก็น่าจะลองใช้ [Nitrous.io](http://nitrous.io) ดูนะ
Nitrous.io เป็นบริการที่ช่วยให้คุณสามารถรันแอพและแก้ไขโค้ดจากเบราว์เซอร์ได้โดยตรง ซึ่งทางเราได้เตรียม [คู่มือการใช้งานฉบับย่อ](https://www.discovermeteor.com/blog/meteor-nitrous) ไว้ให้แล้ว
คุณก็แค่ทำตามคู่มือนั้นจนจบหัวข้อ "Installing Meteor" แล้วกลับมาอ่านต่อที่ "ลองสร้างแอพแบบง่ายๆกัน" ในบทนี้ได้เลย
<% end %>
### ลองสร้างแอพแบบง่ายๆกัน
เมื่อ Meteor พร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะมาสร้างแอพกัน เริ่มต้นด้วยการเรียกใช้คำสั่ง `meteor` ดังนี้
~~~bash
meteor create microscope
~~~
คำสั่งนี้เป็นการบอกให้ Meteor ทำการดาวน์โหลดไฟล์ที่จำเป็นและสร้างแอพพื้นฐานให้เรา เมื่อเสร็จเรียบร้อยคุณก็จะได้โฟลเดอร์ `microscope/` ที่ประกอบด้วยไฟล์ต่อไปนี้
~~~bash
.meteor
microscope.css
microscope.html
microscope.js
~~~
โดยแอพที่ Meteor สร้างให้เรานั้น เป็นแอพตัวอย่างที่มีการทำงานแบบง่ายๆ
ถึงแม้ว่ามันจะทำงานอะไรได้ไม่มากนัก เราก็ยังสามารถรันมันได้ ที่คุณต้องทำก็แค่ป้อนคำสั่งต่อไปนี้ที่หน้าต่างเทอร์มินัล
~~~bash
cd microscope
meteor
~~~
จากนั้นก็เปิดเบราว์เซอร์ไปที่ `http://localhost:3000/` (หรือที่ `http://0.0.0.0:3000`) คุณก็น่าจะเห็นอะไรคล้ายๆแบบนี้
<%= screenshot "2-1", "Meteor's Hello World." %>
<%= commit "2-1", "Created basic microscope project." %>
ยินดีด้วย ! คุณได้สร้างแอพ Meteor ตัวแรกที่ใช้งานได้แล้ว ถ้าจะปิดมันคุณก็แค่กด `ctrl+c` ในหน้าต่างเทอร์มินัลที่คุณรันมันไว้ ก็เรียบร้อย
และถ้าคุณใช้ Git อยู่ ก็ถึงเวลาที่คุณควรสร้าง repository ด้วยคำสั่ง `git init` ได้แล้ว
<% note do %>
### ลาก่อนนะ Meteorite
ก่อนหน้านี้การใช้งาน Meteor ยังต้องพึ่งพาโปรแกรมจัดการแพ็คเกจที่เราเรียกว่า Meteorite แต่หลังจากเวอร์ชัน 0.9.0 เป็นต้นมา ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆของ Meteorite ได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Meteor แล้ว
ถ้าคุณเผอิญไปเจอตรงไหนในหนังสือหรือในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Meteor ที่อ้างถึงคำสั่ง `mrt` ของ Meteorite แล้วล่ะก็ ให้คุณใช้คำสั่ง `meteor` แทนได้เลย
<% end %>
### การเพิ่มแพ็คเกจ
ขั้นตอนต่อไป เราจะลองใช้ระบบจัดการแพ็คเกจของ Meteor เพิ่มเฟรมเวิร์ก [Bootstrap](http://getbootstrap.com/) เข้าไปในแอพของเรา
ซึ่งอันที่จริงแล้ว ก็ไม่แตกต่างอะไรกับการที่เราจะก๊อปไฟล์ CSS และ JavaScript จาก Bootstrap มาลงเอง เว้นเสียแต่ว่าในกรณีนี้เรามีผู้ดูแลแพ็คเกจที่คอยอัพเดทแพ็คเกจนี้ให้เราอยู่เสมอ
ยังมีแพ็คเกจอีกตัวที่เราจะเพิ่มเข้าไปในแอพคือ [Underscore](http://underscorejs.org/) ซึ่งเป็นแพคเกจรวบรวมฟังก์ชันสำคัญๆ เอาไว้ใช้จัดการกับข้อมูลแบบต่างๆของจาวาสคริปต์
โดยแพ็คเกจ `bootstrap` ตัวนี้ สร้างและดูแลโดยผู้ใช้ชื่อ `twbs` มีชื่อเต็มของแพ็คเกจว่า `twbs:bootstrap`
ส่วนแพคเกจ `underscore` ก็เป็นส่วนหนึ่งของแพคเกจอย่างเป็นทางการของ Meteor และมาพร้อมกับเฟรมเวิร์กอยู่แล้ว จึงไม่ระบุชื่อผู้สร้าง
~~~bash
meteor add twbs:bootstrap
meteor add underscore
~~~
ให้สังเกตว่าแพคเกจที่เราเพิ่มเป็น Bootstrap **3** แต่ภาพหน้าจอในหนังสือบางภาพได้มาจาก Microscope เวอร์ชันเก่าที่ยังใช้ Bootstrap **2** อยู่ จึงอาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
<%= commit "2-2", "Added bootstrap and underscore packages." %>
หลังจากที่คุณเพิ่มแพคเกจ Bootstrap เข้ามา คุณก็จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของแอพได้ ดังภาพ
<%= screenshot "2-1b", "With Bootstrap." %>
สิ่งที่ไม่เหมือนกับวิธีการเดิมๆ ที่เราเคยทำหลังจากเพิ่มไฟล์ต่างๆเข้ามาในแอพแล้ว ก็คือเราไม่ต้องผูกทั้งไฟล์ CSS และไฟล์จาวาสคริปต์เข้ากับแอพแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะ Meteor จัดการเรื่องทั้งหมดให้เรา ! และนี่ก็คือข้อดีข้อหนึ่งของการใช้แพ็คเกจใน Meteor
<% note do %>
### รู้จักกับแพ็คเกจชนิดต่างๆ
เมื่อพูดถึงแพ็คเกจในโลกของ Meteor จะพบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ
- **แพ็คเกจหลัก (Platform package)** คือกลุ่มแพ็คเกจที่ประกอบกันขึ้นเป็น Meteor และบรรจุไว้ในแอพ Meteor ทุกตัว โดยที่คุณไม่ต้องจัดการอะไรเพิ่มเติม
- แพ็คเกจปกติ (Regular package) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "**ไอโซแพ็ค (isopacks)**" คือแพ็คเกจที่สามารถใช้งานได้กับโค้ดทั้งฝั่งไคลเอนต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เราเรียกไอโซแพคที่พัฒนาโดยทีมงาน Meteor [และมาพร้อมกับ Meteor](http://docs.meteor.com/#packages) ว่า **แพ็คเกจ First-party** เช่น `accounts-ui` หรือ `appcache`
- ส่วน **แพ็คเกจ Third-party** ก็คือไอโซแพ็คอีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาโดยผู้ใช้รายอื่นและส่งขึ้นไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์จัดการแพ็คเกจของ Meteor ที่คุณสามารถเข้าไปค้นหาได้จากเว็บ [Atmosphere](http://atmosphere.meteor.com) หรือจากคำสัั่ง `meteor search`
- **แพ็คเกจ Local** คือ แพ็คเกจที่คุณสร้างขึ้นใช้เองและเก็บไว้ในโฟลเดอร์ `/packages`
- **แพ็คเกจ NPM** (Node.js Packaged Module) คือแพ็คเกจของ Node.js ซึ่งแม้ว่าเราจะไม่สามารถเรียกใช้งานจาก Meteor ได้โดยตรง แต่ก็สามารถเรียกใช้ได้จากแพ็คเกจแบบอื่นๆข้างต้นได้
<% end %>
### โครงสร้างโฟลเดอร์ของแอพ Meteor
ก่อนจะเริ่มเขียนโค้ดกัน เราควรจัดการแอพให้เข้าที่เข้าทางซะก่อน และเพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีส่วนเกินอะไรติดมา ให้เราเปิดโฟลเดอร์ `microscope` และลบไฟล์ `microscope.html` `microscope.js` และ `microscope.css` ทั้งหมดทิ้งไปซะ
จากนั้นให้สร้างโฟลเดอร์ย่อยขึ้นใน `/microscope` ทั้งหมด 4 โฟลเดอร์ คือ `/client` `/server` `/public` และ `/lib`
ต่อมา ให้สร้างไฟล์ว่างๆชื่อ `main.html` และ `main.js` ในโฟลเดอร์ `/client` โดยไม่ต้องกลัวว่าแอพจะรันไม่ได้ เพราะในบทต่อไปเราก็จะเริ่มเขียนโค้ดลงในไฟล์สองตัวนี้
สิ่งที่เราคงต้องพูดถึงก่อน คือความพิเศษของโฟลเดอร์บางตัว ที่มีผลต่อการทำงานของแอพ โดย Meteor มีกฎเบื้องต้นดังนี้
- โค้ดในโฟลเดอร์ `/server` จะทำงานที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น
- โค้ดในโฟลเดอร์ `/client` จะทำงานที่ฝั่งไคลเอนต์เท่านั้น
- โค้ดในที่อื่นๆ จะทำงานได้ทั้งบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์และฝั่งไคลเอนต์
- ไฟล์อื่นๆ (ฟอนต์ ภาพ ฯลฯ) ต้องเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ `/public`
และที่เราควรรู้คือ ลำดับการโหลดไฟล์ของ Meteor จะเป็นไปดังนี้
- ไฟล์ใน `/lib` จะถูกโหลด *ก่อน* ไฟล์อื่น
- ไฟล์ `main.*` จะถูกโหลด *หลัง* ไฟล์อื่น
- ไฟล์อื่นๆนอกจากนี้ จะถูกโหลดตามลำดับของตัวอักษรในชื่อไฟล์
ถึงแม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์แบบนี้ แต่ Meteor ก็ไม่ได้บังคับให้คุณต้องใช้โครงสร้างโฟลเดอร์ตามที่กำหนดหากคุณไม่ต้องการ อีกทั้งรูปแบบที่เราแนะนำไป ก็เป็นแค่วิธีที่เราใช้ ไม่ใช่อะไรที่ตายตัว
ถ้าคุณยังต้องการรายละเอียดที่มากกว่านี้ เราอยากให้คุณไปดูที่ [หน้าเอกสารของ Meteor](http://docs.meteor.com/#structuringyourapp)
<% note do %>
### Meteor เป็น MVC มั้ย
ถ้าคุณเคยใช้เฟรมเวิร์กอื่นเช่น Ruby on Rails มาก่อน แล้วเพิ่งมาใช้ Meteor คุณคงสงสัยว่า Meteor ได้นำรูปแบบ MVC (Model View Controller) มาใช้ในแอพหรือไม่
คำตอบสั้นๆ ก็คือ ไม่
ที่ไม่เหมือน Rails ก็คือ Meteor ไม่ได้กำหนดโครงสร้างอะไรกับแอพของคุณ และในหนังสือเล่มนี้ เราก็แค่วางรูปแบบโค้ดที่มันสมเหตุสมผล โดยไม่ต้องมีตัวย่อต่างๆมาทำให้เราวุ่นวาย
<% end %>
### ไม่มีโฟลเดอร์ public เลย
จริงๆแล้ว เราหลอกคุณ
เหตุผลง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีโฟลเดอร์ `public/` ก็เพราะว่า Microscope ไม่มีไฟล์แบบอื่นๆเลย แต่เนื่องจากแอพของ Meteor ส่วนมากจะต้องมีภาพบ้างอย่างน้อยก็หนึ่งภาพ เราเลยคิดว่า มีไว้ก็น่าจะดีกว่าไม่มี
ก่อนที่จะลืม คุณอาจสังเกตเห็นโฟลเดอร์ `.meteor` ที่ซ่อนอยู่ ซึ่ง Meteor ใช้เก็บโค้ดของตัวมันเอง เราจึงไม่ควรแก้ไขอะไรข้างในนั้น ว่าไปแล้วคุณไม่จำเป็นต้องสนใจมันเลยก็ได้ จะมีก็แต่ไฟล์ `.meteor/packages` และ `.meteor/release` ที่ใช้เก็บรายชื่อแพ็คเกจ และเวอร์ชันของ Meteor ที่ใช้อยู่ เมื่อไรก็ตามที่คุณเพิ่มแพ็คเกจและปรับรุ่น Meteor แล้วละก็ คุณอาจจำเป็นต้องตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในไฟล์พวกนี้
<% note do %>
### Underscores กับ CamelCase
สิ่งเดียวที่เราจะพูดถึงเกี่ยวกับการตั้งชื่อตัวแปร ทั้งแบบ underscore (`my_variable`) และแบบ camelCase (`myVariable`) ก็คือ ไม่ว่าคุณจะใช้แบบไหน มันก็ไม่มีผลอะไร ตราบใดที่คุณยังคงใช้แบบนั้นอยู่
ในหนังสือเล่มนี้ เราใช้ camelCase ก็เพราะว่ามันเป็นเรื่องปกติในจาวาสคริปต์ (ที่เห็นชัดๆ ก็คือ คงไม่มีใครเขียน JavaScript ว่า java_script แน่ๆ !)
แต่มีข้อยกเว้นเพียงประการเดียวกับกฎเกณฑ์นี้ก็คือ ชื่อไฟล์เราจะใช้ ตัวอักษรขีดล่าง (เช่น `my_file.js`) ส่วนคลาสใน CSS เราจะใช้ เครื่องหมายลบ (เช่น `.my-class`) เหตุผลก็คือ ตัวอักษรขีดล่างถูกใช้กับระบบไฟล์มากที่สุด ในขณะที่ CSS เองก็ใช้เครื่องหมายลบกันอยู่แล้ว (`font-family` `text-align` ฯลฯ)
<% end %>
### ใส่ใจกับ CSS
หนังสือเล่มนี้ไม่เกี่ยวกับ CSS ดังนั้นเพื่อไม่ให้คุณเสียเวลา เราจึงตัดสินใจสร้าง stylesheet ทั้งหมดให้พร้อมใช้ไว้ตั้งแต่แรก เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องกังวลกับมันอีก
โดยไฟล์ CSS นั้นจะถูกโหลดและทำให้เล็กลงอย่างอัตโนมัติด้วย Meteor และคุณควรเก็บมันไว้ในโฟลเดอร์ `/client` ไม่ใช่ใน `/public` เหมือนกับไฟล์ชนิดอื่นๆ
ที่คุณต้องทำต่อคือ สร้างโฟลเดอร์ `client/stylesheets/` และวางไฟล์ `style.css` ที่มีข้อมูลตามที่แสดงนี้ไว้ข้างใน
~~~css
.grid-block, .main, .post, .comments li, .comment-form {
background: #fff;
border-radius: 3px;
padding: 10px;
margin-bottom: 10px;
-webkit-box-shadow: 0 1px 1px rgba(0, 0, 0, 0.15);
-moz-box-shadow: 0 1px 1px rgba(0, 0, 0, 0.15);
box-shadow: 0 1px 1px rgba(0, 0, 0, 0.15); }
body {
background: #eee;
color: #666666; }
#main {
position: relative;
}
.page {
position: absolute;
top: 0px;
width: 100%;
}
.navbar {
margin-bottom: 10px; }
/* line 32, ../sass/style.scss */
.navbar .navbar-inner {
border-radius: 0px 0px 3px 3px; }
#spinner {
height: 300px; }
.post {
/* For modern browsers */
/* For IE 6/7 (trigger hasLayout) */
*zoom: 1;
position: relative;
opacity: 1; }
.post:before, .post:after {
content: "";
display: table; }
.post:after {
clear: both; }
.post.invisible {
opacity: 0; }
.post.instant {
-webkit-transition: none;
-moz-transition: none;
-o-transition: none;
transition: none; }
.post.animate{
-webkit-transition: all 300ms 0ms;
-moz-transition: all 300ms 0ms ease-in;
-o-transition: all 300ms 0ms ease-in;
transition: all 300ms 0ms ease-in; }
.post .upvote {
display: block;
margin: 7px 12px 0 0;
float: left; }
.post .post-content {
float: left; }
.post .post-content h3 {
margin: 0;
line-height: 1.4;
font-size: 18px; }
.post .post-content h3 a {
display: inline-block;
margin-right: 5px; }
.post .post-content h3 span {
font-weight: normal;
font-size: 14px;
display: inline-block;
color: #aaaaaa; }
.post .post-content p {
margin: 0; }
.post .discuss {
display: block;
float: right;
margin-top: 7px; }
.comments {
list-style-type: none;
margin: 0; }
.comments li h4 {
font-size: 16px;
margin: 0; }
.comments li h4 .date {
font-size: 12px;
font-weight: normal; }
.comments li h4 a {
font-size: 12px; }
.comments li p:last-child {
margin-bottom: 0; }
.dropdown-menu span {
display: block;
padding: 3px 20px;
clear: both;
line-height: 20px;
color: #bbb;
white-space: nowrap; }
.load-more {
display: block;
border-radius: 3px;
background: rgba(0, 0, 0, 0.05);
text-align: center;
height: 60px;
line-height: 60px;
margin-bottom: 10px; }
.load-more:hover {
text-decoration: none;
background: rgba(0, 0, 0, 0.1); }
.posts .spinner-container{
position: relative;
height: 100px;
}
.jumbotron{
text-align: center;
}
.jumbotron h2{
font-size: 60px;
font-weight: 100;
}
@-webkit-keyframes fadeOut {
0% {opacity: 0;}
10% {opacity: 1;}
90% {opacity: 1;}
100% {opacity: 0;}
}
@keyframes fadeOut {
0% {opacity: 0;}
10% {opacity: 1;}
90% {opacity: 1;}
100% {opacity: 0;}
}
.errors{
position: fixed;
z-index: 10000;
padding: 10px;
top: 0px;
left: 0px;
right: 0px;
bottom: 0px;
pointer-events: none;
}
.alert {
animation: fadeOut 2700ms ease-in 0s 1 forwards;
-webkit-animation: fadeOut 2700ms ease-in 0s 1 forwards;
-moz-animation: fadeOut 2700ms ease-in 0s 1 forwards;
width: 250px;
float: right;
clear: both;
margin-bottom: 5px;
pointer-events: auto;
}
~~~
<%= caption "client/stylesheets/style.css" %>
<%= commit "2-3","Re-arranged file structure." %>
<% note do %>
### ใช้ CoffeeScript ได้มั้ย
ในหนังสือเล่มนี้ เราจะเขียนแอพกันด้วยจาวาสคริปต์ แต่ถ้าคุณต้องการใช้ CoffeeScript ก็สามารถทำได้โดยเพิ่มแพ็คเกจ CoffeeScript เข้าไปในแอพตามคำสั่งข้างล่างนี้ จากนั้นคุณก็ลุยต่อได้เลย
`meteor add coffeescript`
<% end %>